การอกกกำลังกายให้เหมาะสมตามช่วงอายุ จากองค์การอนามัยโลก (ฉบับล่าสุด)

การอกกกำลังกายให้เหมาะสมตามช่วงอายุ จากองค์การอนามัยโลก (ฉบับล่าสุด)

4 มกราคม 2021 0 By admin admin

ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 องค์การอนามัยโลก ได้เปิดเผยวิธีออกกำลังกายฉบับล่าสุด  การอกกกำลังกายให้เหมาะสมตามช่วงอายุ (ฉบับก่อนหน้านี้ก็ 10 ปีที่แล้ว โดยที่ฉบับนี้เน้นให้คนทุกวัย ออกกำลังให้ได้อย่างน้อยครั้งละ 10 นาที ซึ่งยังมีกิจกรรมการออกกำลังกายที่ต้องออกกำลังกายด้วย ส่วนจะมีแบบไหนบ้าง และในแต่ช่วงอายุต้องบริหารร่างกายหรือกิจจะกรรมอะไรบ้าง ซึ่งก็รวมไปถึง ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ –หลังคลอด ผู้ป่วย และผู้พิการ ไปดูกันเลย

 

  • การบริหารร่างกายของเด็กทารก

    Babies laying, sitting and standing together


องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทารกนอนคว่ำ อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง นอกจากจะเป็นการฝึกเด็กทารกนอนคว่ำแล้ว จะเป็นการช่วยเพิ่มพัฒนาการทางระบบประสาทรวมไปถึงกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ และไม่ควรให้ทารกอยู่นิ่ง ๆ เกิน 1 ชั่วโมง แม้แต่จะนั่งในรถเข็นก็ตาม

  • การบริหารร่างกายสำหรับคนที่อายุ 18-64 ปี

สำหรับวัยผู้ใหญ่นี้ ได้มีการแนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อย สัปดาห์ละ 3-5 ชั่วโมง โดยเป็นการเชิงแอโรบิค ที่มีระดับความเหนื่อยในระดับปานกลาง หรือถ้าจะออกกำลังกายที่มีความเหนื่อยสูง ก็สามารถลดเวลามาเหลือ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็ได้ และความออกกำลังกายแบบบริหารกล้ามเนื้อควบคู่ไปด้วย โดยไม่ต่ำกว่า 1-2 วันต่อสัปดาห์

  • การบริหารร่างกายสำหรับผู้สูงอายุ

โดยเป็นวัยที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป จะเน้นไปที่การบริหารร่างกายเพื่อป้องกันการหกล้ม และปรับปรุงการทำงานของร่างกายในส่วนต่าง ๆ โดยการบริหารนั้นจะเป็นการฝึกการทรงตัว ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 3 วัน ในความเข้มข้นระดับปานกลาง

  • การบริหารร่างกายในเด็ก และในช่วงวัยรุ่น

    องค์การอนามัยโลก ได้เปิดเผยวิธีออกกำลังกายฉบับล่าสุด  การอกกกำลังกายให้เหมาะสมตามช่วงอายุ โดยที่ฉบับนี้เน้นให้คนทุกวัย ดูแลสุขภาพ 60min

     


สำหรับคนในช่วงวัยนี้จะแตกต่างจากในช่วงผู้ใหญ่ โดยคนในวัยนี้จะต้องออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงและต้องทำเป็นประจำวันละ 1 ชั่วโมง ขึ้นไปควบคู่กับการบริหารกล้ามเนื้อไม่น้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์

องค์การอนามัยโลก การอกกกำลังกายให้เหมาะสมตามช่วงอายุ  ยังเผยอีกว่า หารบริหารร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะให้เกิดความเสี่ยงในโรคต่าง ๆได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน, มะเร็ง, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือด , โรคซึมเศร้า, เป็นต้น ส่วนคนที่ไม่ค่อยขยับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม นั่ง ๆ นอน ๆ ดูทีวี หรือแม้แต่นั่งทำงานนาน ๆ คนในกลุ่มนี้มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่มีการขยับร่างกายบ่อย หรือออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นก็ไม่มัวหมกอยู่กับหน้าจอเกม, คอมพิวเตอร์, รวมไปถึงหน้าจอโทรศัพท์ ให้มากจนเกินไป