ผักกาดเฉา โรคที่ไม่ควรมองข้ามในหน้าร้อน

ผักกาดเฉา โรคที่ไม่ควรมองข้ามในหน้าร้อน

3 พฤษภาคม 2021 0 By admin admin

ผักกาดเฉา โรคที่ไม่ควรมองข้ามในหน้าร้อน

หากจะพูดถึงใน เรื่องของการทำเกษตรกรในช่วงฤดูร้อนหลายคนคงไม่ชอบใจกันนักด้วยอากาศที่ร้อน มีการส่งผลกระทบและส่งผลเสียให้กับพืชผักที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย และในบทความนี้จะมาว่าด้วยเรื่องของ”ผักกาด”เป็นผักที่สามารถปลูกได้ในทุกฤดูเป็นผักที่เจริญเติบโตง่ายมากกว่าผักชนิดอื่น อีกทั้งยังให้ผลผลิตที่ไวกว่าผักชนิดอื่นอีกด้วย ผักกาดสามารถเติบโตได้ด้วยเพียงแค่ใช้น้ำรดเท่านั้น แต่ในความที่ผักกาดมีการเจริญเติบโตง่ายก็ต้องแฝงมาด้วยโรคที่คนเป็นเกษตรกรจะรู้จักกันดีคือ “โรคผักกาดเฉา”นั่นเอง

ซึ่งโรคนี้เกิดขึ้นได้จากการที่เราปลูกผักกาดจำนวนมากและทำการรดน้ำปกติ เมื่อถึงช่วงเวลากลางวันหากมีแดดจ้า หรือแดดจัดจำนวนมากจะทำให้ผักกาดที่ปลูกเกิดการเผาไหม้ที่ใบของตัวผักนั่นเอง เมื่อเกิดการเผาไหม้จะเห็นได้ว่าผักกาดเหี่ยวลงอย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง แต่เกษตรกรบางท่านอาจจะมองข้ามในส่วนนี้และคิดว่าหากรดน้ำก็คงจะหายจากอาการนี้อย่างแน่นอน แต่บอกก่อนเลยว่าอย่าชะล่าใจเป็นอันขาดนะคะ เมื่อเกิดอาการของ”ผักกาดเฉา”สิ่งแรกที่ควรทำคือต้องให้ผักกาดแห้งเสียก่อนค่ะ 

หากจะถามว่าต้องทำอย่างไรสิ่งแรกคือ ต้องให้ผักกาดเกิดการตากแดดอีกรอบค่ะและในวันนั้นงดในเรื่องของการรดน้ำไปเสียก่อนนั่นเอง ขั้นตอนต่อมาคือเมื่อผ่านไปวันหนึ่งแล้วต้องทำการรดน้ำแต่ขอแนะนำรดน้ำในช่วงบ่ายจำนวน 2 รอบเพื่อให้ใบของผักกาดเกิดการฟื้นฟูเสียก่อน แต่หากใบไม่ฟื้นฟูต้องถอนทิ้งอย่างเดียวนั่นเอง แต่ในเรื่องของใบเน่านั้นสามารถแก้ไขได้อีกวิธีคือการปล่อยให้ใบแห้งและรดน้ำทับหรือใส่ปุ๋ยเพิ่มแต่ไม่ต้องรดน้ำ วิธีนี้จะสามารถกูใบของผักกาดให้ดีขึ้นมาได้อีกทั้งใบยังมีโอกาศงอกงามกว่าเดิมอีกด้วยนั่นเอง แต่วิธีนี้น้อยคนนักที่จะทราบเนื่องจากผู้ที่ทราบจะเข้าใจว่าเป็นวิธีที่ค่อนข้างเสียเวลาเป็นอย่างมากนั่นเอง

แต่เนื่องด้วย การป้องกันใบเน่านั้นสามารถป้องกันตั้งแต่ต้นผักกาดยังไม่โตเต็มที่ ในช่วงเวลาที่ต้นผักกาดเจริญเติบโตมีต้นอ่อนด้านในในช่วงเวลานี้ให้ทำการรดน้ำวันเว้นวันไม่ให้ต้นผักกาดอุ้มน้ำมากจนเกินไปนั่นเอง และ เน้นในเรื่องของการใส่ปุ๋ยให้ใส่เพียงอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ก็เพียงพอมิเช่นนั้นต้นอาจจะเน่าได้ ถึงแม้ว่าผักกาดจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายแต่ก็แฝงด้วยความระมัดระวังมากเช่นกัน หากเพื่อน ๆ ที่ปลูกอยู่สามารถอ่านบทความนี้เพื่อนำไปปรับใช้หรือศึกษาเบื้องต้นได้เลยนะคะ