ยกเลิกโอเน็ต มีผลกระทบนักเรียนหรือไม่ ?

ยกเลิกโอเน็ต มีผลกระทบนักเรียนหรือไม่ ?

4 มกราคม 2021 0 By admin admin

ยกเลิกโอเน็ต มีผลกระทบนักเรียนหรือไม่ ? จากกระแสข่าวการศึกษาที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในตอนนี้ คงต้องเป็นเรื่องการที่กลุ่มครู-อาจารย์ และนักเรียนได้ออกมาเรียกร้องให้ทบทวน เกี่ยวกับการสอบโอเน็ต ซึ่งนายณัฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้หารือกับสถาบัทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ถึงแนวทางการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือที่เรียกว่าโอเน็ต ว่าจะเกิดผลดีหรือผลเสียหรือไม่ โดยในขณะนี้ก็ยังไม่ได้คำตอบเป็นที่แน่ชัด โดยทางนายสุภัทร ได้เปิดเผยว่า

ได้มีการหารือเพิ่มเติมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ว่าจะมีวิธีการอื่นมารองรับแทนการการสอบโอเน็ตหรือไม่ ซึ่งในเบื้องต้น คาดว่าการสอบโอเน็ตจะยังมีจนถึงปี 2565 และทางทปอ.เองไม่มีปัญหาเพราะได้หาวิธีการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้มารองรับไว้อยู่แล้ว ในขณะที่นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ก็ได้ให้คำตอบว่าไม่มีปัญหา เพราะสพฐ.สามารถทำระบบการทดสอบกลางได้ ดังนั้น

การสอบโอเน็ตประจำปีการศึกษา 2563 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งจะสอบในช่วงปี 2564 จะยกเลิก ส่วนการสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้น ม.6 นั้น ทางทปอ.รับทราบรายละเอียด โดยการสอบโอเน็ตปีการศึกษา 2563 ให้คงไว้ก่อน เพราะนักเรียนต้องใช้คะแนนในการเข้าเรียนต่อสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆ กำหนดองค์ประกอบในการเข้าศึกษาต่อไว้แล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทัน โดยให้ไปยกเลิกในปี2565 ทั้งนี้อำนาจในการยกเลิกการสอบโอเน็ตหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ สพฐ. แต่ขึ้นอยู่กับสถาบันทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (สทศ.) ที่ต้องประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้งในฐานะหน่วยงานผู้จัดสอบ

ยกเลิกโอเน็ต มีผลกระทบนักเรียนหรือไม่ ? จากกระแสข่าวการศึกษาที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในตอนนี้ คงต้องเป็นเรื่องการที่กลุ่มครู-อาจารย์ การสอบ

ยกเลิกโอเน็ต มีผลกระทบนักเรียนหรือไม่

          “สำหรับ สพฐ.การสอบโอเน็ตหรือไม่ ไม่ได้มีผลกระทบกับการพัฒนาการศึกษา ส่วนมหาวิทยาลัยเอง ก็ไม่ได้ใช้โอเน็ตในการเข้าศึกษาต่อในสัดส่วนที่สูงมากนัก แต่จะไปเน้นใช้คะแนนสอบวิชาความถนัดทั่วไป หรือ GAT คะแนนการดสอบความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือ PAT และคะแนนสอบวิชาสามัญ 9 วิชามากกว่า ดังนั้น แม้จะยกเลิกไปก็เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาในภาพรวม ส่วนการใช้โอเน็ตพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างๆ นั้น ทุกวันนี้ การจัดการเรียนการสอนจะยึดเด็กเป็นศูนย์กลางอยู่แล้ว แน่นอนว่า ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโรงเรียนแต่ละแห่งยังคงมีอยู่ เพราะบริบทของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน โดย สพฐ.จะเน้นให้โรงเรียนพัฒนาการศึกษาตามศักยภาพ ซึ่งแต่ละแห่งจะมีการประเมินผลการจัดการศึกษาของตัวเองอยู่แล้ว และหาก สพฐ. ต้องการประเมินผลการจัดการศึกษาในภาพรวม ก็อาจใช้วิธีสุ่มสอบ ลักษณะเดียวกับการสอบวัดความรู้นักเรียนนานาชาติหรือPISA โดยใช้ข้อสอบที่ สพฐ.มีอยู่เป็นตัววัด”  นายอัมพรกล่าว