วิกฤตการณ์การทูตกาตาร์ เมื่อกาตาร์ต้องเผชิญกับการหันหลังให้ของหลายประเทศ
25 พฤศจิกายน 2021วิกฤตการณ์การทูตกาตาร์ เมื่อกาตาร์ต้องเผชิญกับการหันหลังให้ของหลายประเทศ
การทูต นั้นถือว่าเป็นวิธีการทางการเมืองและการเชื่อมความสัมพันธ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของหลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้ มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ไม่มีกระบวนการทางการทูตหรือหากมีก็มีน้อยมาก ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นประเทศที่ไม่ได้รับการยอมรับหรือถูกแบนอย่างเช่น ประเทศเกาหลีเหนือ ที่มีความพยายามในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ แต่โดยปกติทั่วไปแล้วหลายประเทศนั้นนิยมชมชอบในการใช้วิธีการทางการทูตผ่านการเจรจาและการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อป้องปะทุขึ้นมาเป็นสงครามที่ทหารจะต้องหยิบอาวุธขึ้นมาต่อสู้กัน เนื่องจากในปัจจุบันนี้ไม่เหมือนกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แต่อย่างใดที่ยังไม่มีการพัฒนาอาวุธที่เต็มไปด้วยความอันตรายและร้ายกาจเหมือนกับในปัจจุบัน หากไม่มีวิธีการทางการทูตที่ดีก็อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งจนประทุขึ้นมาเป็นสงครามที่เต็มไปด้วยความอันตรายได้
การเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศอื่นนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากแม้แต่ประเทศไทยของเราเองก็มีการตั้งสถานทูตอยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วทั้งโลกเช่นเดียวกัน แต่มีอยู่ประเทศหนึ่งที่ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการทูตจนทำให้หลากหลายประเทศหันหลังให้กับพวกเขานั่นก็คือ วิกฤตการณ์การทูตกาตาร์ เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายนปี 2560 ตามมาจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2564 ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้มีการออกมาประกาศอย่างเป็นทางการถึงกรณีการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศใกล้เคียงอย่าง กาตาร์ เนื่องจากพวกเขานั้นกล่าวหาว่า กาตาร์ เป็นประเทศที่ให้ความสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายและยังมีความพยายามในการบ่อนทำลายเสถียรภาพภายในภูมิภาคอีกด้วย
หลังจากที่ ซาอุดิอาระเบีย ออกมาประกาศอย่างชัดเจนหลากหลายประเทศบริเวณโดยรอบก็ได้มีการประกาศปรับความสัมพันธ์ทางการทูตกับ กาตาร์ ทันทีไม่ว่าจะเป็น ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มัลดีฟส์ เยเมน มอริเตเนีย บาห์เรน และ อียิปต์ การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนั้นไม่เหมือนกับการเลิกเป็นเพื่อนกันเพราะมันส่งผลกระทบต่อประเทศกาตาร์อย่างรุนแรงเพราะพวกเขาถูกตัดขาดการติดต่อไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางอากาศ หรือแม้กระทั่งทางทะเล หลังจากนั้นนักการทูตของประเทศกาตาร์ก็ถูกสั่งให้เดินทางออกจากประเทศที่มีการตัดความสัมพันธ์ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 48 ชั่วโมงเท่านั้น
พลเมือง กาตาร์ ที่อาศัยอยู่ในประเทศเหล่านั้นถูกสั่งให้เดินทางออกภายในระยะเวลา 14 วัน และยังไม่ให้พลเมืองของตัวเองเดินทางไปยัง ประเทศกาตาร์ ด้วยเช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันมีอีก 6 ประเทศที่ลดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ไม่ว่าจะเป็น ชาด ไนเจอร์ เซเนกัล เอริเทรีย จิบูดี และ จอร์แดน การคว่ำบาตรทำให้กาตาร์ต้องเผชิญกับวิกฤตอุตสาหกรรมทางการบินและทำให้ภายในประเทศมีการกักตุนสินค้า พวกเขาต้องนำเข้าสินค้าจากประเทศโอมานเนื่องจากไม่สามารถใช้ท่าเรือของประเทศที่ถูกตัดความสัมพันธ์ได้ ความน่าเชื่อถือของพวกเขาลดลงไป และกลายเป็นวิกฤตเรื้อรังจนถึงในปัจจุบัน