อาหารบำรุง อัมพฤกษ์ สำหรับคนที่ท่านรักและใส่ใจ
13 สิงหาคม 2021อาหารบำรุง อัมพฤกษ์ สำหรับคนที่ท่านรักและใส่ใจ
สำหรับผู้ป่วยในโรคต่างๆนั้น การจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยที่บ่งชี้ว่าร่างกายจะฟื้นตัวได้เร็วหรือช้าแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเรานั้นใส่ใจต่อการกินของผู้ป่วยแต่ละคน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องล่มหมอนนอนเสื่อจากโรคที่เกิดขึ้นในอวัยวะภายในเป็น การจัดเตรียมอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อควบคุมปัจจัยจ่างๆที่มีผลในการเสี่ยงต่อโรค
สำหรับวันนี้จะมาพูดถึง เรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมฤกษ์-อัมพาต หลายๆท่านอาจจะชะล่าใจกันว่า โรคเหล่านี้ เมื่อเป็นแล้ว รักษาหาย ชีวิตกลับมาเป็นปกติ ใช้ชีวิต และทานอาหารได้ เหมือนคนปกติทุกอย่าง แต่อันที่จริงแล้วโรคนี้นั้นสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ทุกเวลา หากไม่ระมัดระวังพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารการกิน เราจะมาดูกันว่า อาหารบำรุง อัมพฤกษ์ สำหรับคนที่ท่านรักและใส่ใจ จะมีอะไรบ้าง
- อาหารที่มีไขมันต่ำ ดีต่อร่างกาย การทานอาหารที่มีไขมันต่ำนั้น ช่วยลดภาระในการย่อยอาหารและ ลดการสะสมของไขมันในร่างกาย อาทิเช่น เนื้อปลา เนื้ออกไก่ นมไขมันต่ำและไม่มีน้ำตาล เต้าหู้ ควรเน้นหนักควบคู่กันไปกับอาหารในหมวดอื่นๆในแต่ละมื้อ
- อาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์ สูง เช่นผักทุกชนิด ผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย(ฝรั่ง แก้วมังกร อะโวคาโด และอื่นๆ) ข้าวแบบไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีต เนื่องจากในการดูดซึมไขมันนั้น จะต้องใช้กากใยเหล่านี้เข้าช่วย จึงเป็นอาหารบำรุง อัมพฤกษ์ที่จำเป็น
- การปรุงอาหารในแต่ละมื้อควรใช้น้ำมันพืช แทนน้ำมันที่มาจากสัตว์ เช่นน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น แต่ถ้าหลีกเลี่ยงใด้ให้เลี่ยงอาหารประเภททอด หรือผัด
- สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคนี้คือ น้ำตาล แอลกอฮอล์ เครื่องในสัตว์ต่างๆ เนื้อหมูติดมัน อาหารทะเล ไข่แดง อาหารรสจัด อาหารแปรรูปต่างๆ ซึ่งเป้นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อนให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง และเกิดได้ซ้ำสำหรับผู้ที่เคยป่วยอยู่แล้ว
- อาหารบำรุง อัมพฤกษ์ที่ดีนั้น ควรปรุงสุกใหม่ๆ และขอแนะนำให้เป็นอาหารประเภท ต้มหรือนึ่ง หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ เนื่องจากเป็นภาระแก่ระบบขับถ่าย
การดูแลด้านอื่นๆ
การดูแลผู้ป่วยโรคนี้ นอกจาก อาหารบำรุง อัมพฤกษ์ แล้ว การดูแลด้านอื่นๆ ก็สำคัญ เช่น การดูและเรื่องการใช้ชีวิต ให้ห่างจากปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย การทานยาตามเวลาและแพทย์สั่ง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสมกับวัยและช่วงอายุ การตรวจดูความดันโลหิตให้อยู่ในเกณท์ที่ควบคุมได้ ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน เป็นต้น