เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ ของขวัญปีใหม่ จากใจกระทรวงศึกษาธิการ
30 ธันวาคม 2020เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2563 ที่ผ่านมา จากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2563 โดยในที่ประชุมดังกล่าว มีวาระสำคัญในเรื่องของมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งหนึ่งในหัวข้อสำคัญและกำลังเป็นที่จับตามองของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศคือการเห็นชอบ (ร่าง) มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ ของขวัญปีใหม่ โดยนายณัฐพลทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกมาเปิดเผยว่า สืบเนื่องจากมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะเดิม ได้ใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบันรวม 15 ปี
ดังนั้น ก.ค.ศ. จึงได้วิเคราะห์และพิจารณาแล้ว เห็นว่าจำเป็นต้องปรับปรุงหน้าที่ความรับผิดชอบ ลักษณะงานที่ปฏิบัติให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของการจัดการศึกษาในปัจจุบัน รวมถึงระยะเวลาที่กำหนดในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะตามมาตรฐานตำแหน่ง ซึ่งยังมีความเหลื่อมล้ำในความก้าวหน้าระหว่างสายงาน (Career Path) ซึ่ง รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า
การปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าว จะเป็นการจูงใจให้บุคลากรที่เก่ง และมีความสามารถก้าวเข้ามาสู่ระบบการศึกษาเพิ่มขึ้น
และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพตามความรู้ ความสามารถจริง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง ศึกษาธิการในการยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งไปที่คุณภาพของครูเป็นสำคัญ อีกทั้งยังได้ปรับปรุงคุณสมบัติความรู้ ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ด้วยการส่งเสริมให้ทุกสายงานมีเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพ ทั้งในสายงานของตนเอง และสามารถเปลี่ยนตำแหน่งไปสู่สายงานอื่นได้ โดยคำนึงถึงการสั่งสมประสบการณ์ และระยะเวลาที่เหมาะสม
ส่วนในด้านมาตรฐานวิทยฐานะ นั้น รศ.ดร.ประวิต บอกว่า จะมุ่งเน้นให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ รวมทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการรวมถึงการมุ่งเน้นในการปรับระยะเวลาการให้มีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ ที่กำหนดระยะเวลาเป็น 4 ปี
เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ เนื่องจากระยะเวลาดังกล่าว มีความเหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ประกอบกับหลักของวาระการดำรงตำแหน่ง กำหนดให้อยู่ในวาระในวาระ 4 ปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน และการบริหารจัดการ ซี่งลดจากเกณฑ์เดิม 1 ปี ซึ่งเคยกำหนดไว้ว่าผู้ที่จะสามารถขอรับประเมินวิทยฐานะได้นั้น ต้องอยู่ในตำแหน่งครบวาระเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งจะทำให้ช่วยลดเวลาและตัดการเอกสารที่ไม่จำเป็นออกไป ถือว่าเป็นของขวัญที่ครูทั่วประเทศใจจดใจจ่อรอมาเป็นเวลานาน