โรคซึมเศร้า
18 ธันวาคม 2022โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า โรคฮิตในผู้หญิงเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทและสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก และแสดงออกทางพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ไม่สามารถรับรู้ว่าตัวเองมี ภาวะซึมเศร้า แต่แสดงออกทางด้านอาการ อารมณ์ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่ได้แสดงออกมาซึ่งอาการซึมเศร้า แต่เป็นการแสดงออกมาซึ่งความรู้สึกเฉยชา หรือเฮฮาในบางครั้ง ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าเขาคนนั้นกำลังมีภาวะซึมเศร้าอยู่ในใจ โรคเหล่านี้มักเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่เรื่องของความรุนแรงด้านสภาวะอารมณ์ ผู้ชายจะรุนแรงกว่าอย่างเห็นได้ชัด ผู้ป่วยบางรายแสดงอาการผิดปกติอกมาด้วยความกังวล วิตกเกินเหตุจำเป็น หรืออารมแปรปรวนขึ้นสุดลงสุด หรืออาการเศร้าแบบสุด ๆ หากใครที่มีอาการดังนี้ควรได้รับการรักษา แต่ก็เป็นการยากที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะยอมรับการรักษา เพราะอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น คนที่มีสภาวะซึมเศร้าจะไม่ค่อยยอมรับในความเป็นตัวเอง เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่อ่อนแอเกินจะรับไหว หรือผู้ป่วยบางรายไม่อยากมองว่าตัวเองเป็นจุดอ่อน อ่อนแอให้ใครเห็นด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ใกล้ชิดควรดูแลอย่างถูกต้องนะคะ
สาเหตุและอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคที่ผู้หญิงเป็นบ่อยเกิดจากความผิดปกติด้านสมองหรือประสาทที่ชื่อว่า เซโรโทนิน มาทำให้ผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวล ท้อแท้ทั้งเรื่องของร่างกายและจิตใจ เบื่อหน่ายกับชีวิต มองไม่เห็นทางออกในบางเรื่อง ไร้ความต้องการและความสนุกสนาน บางคนไม่มีการวาดฝันอนาคต เพราะคิดว่าปัจจุบันช่างโหดร้าย ในทุกวันที่เป็นฝันร้ายของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการเหล่านี้มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและลดทอนความสามารถในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยปัจจัยส่วนมากที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการซึมเศร้า มักมาจากสังคมรอบข้างและสภาวะแวดล้อม ทั้งในครอบครัว ทั้งเรื่องของพันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก็มีโอกาสที่จะสืบทอดได้มากกว่าคนอื่น
อาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักขึ้นอยู่กับสภาวะรอบข้าง
- อาการหงุดหงิดง่าย แม้แต่เรื่องเล็กน้อย และสลับกับอาการซึมชั่วขณะ
- มีความสุขและเฮฮามากผิดปกติ สลับกับอาการซึมเมื่อเวลาผ่านไปเพียงไม่กี่นาที หรือที่เรียกว่าอารมณ์แปรปรวนนั่นเอง
- รู้สึกไม่สนุก หมดความสนใจ ไม่มีงานอดิเรก ไม่คาดหวัง รวมไปถึงไม่มีการวางแผน
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ขาดความกระตือรือร้น ง่วงซึมเป็นพัก ๆ อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากได้อยู่ตัวคนเดียว
- มีความวิตกกังวล ไร้ความต้องการ ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลดลง หรือบางรายอาจจะกินอาหารมากเกินไป น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องมาจากความเครียด
- การตอบสนองช้าลง คิดช้า ทำช้า รู้สึกไม่มีแรงบันดาลใจในการทำอะไร อยากอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องพบเจอใคร นำมาซึ่งความรู้สึกไร้ค่า ไม่มีที่พึ่ง ไร้แสงสว่าง โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะไม่สามารถมองเห็นเส้นทางในการแก้ปัญหาได้ เนื่องจากไร้แรงบันดาลใจ
- ผู้ป่วยที่มี่ภาวะซึมเศร้ารุนแรง อาจจะคิดถึงแต่ความตาย อยากฆ่าตัวตาย รู้สึกเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิต ไปจนถึงการพยายามฆ่าตัวตายอยู่ครั้ง
วิธีการดูแลรักษาอาการผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคผู้หญิงเป็นบ่อย โดยส่วนใหญ่แล้วหากอาการไม่ได้อยู่ในขั้นรุนแรงสามารถรักษาและบำบัดด้วยตัวเองได้โดยการปรึกษาจิตแพทย์หรือคนที่สามารถพูดคุย และให้การแก้ไขได้
- ฝึกควบคุมความเครียด อารมณ์ และความรู้สึก
- คิดว่าตัวเองเป็นที่ต้องการของคนรอบข้าง พูดคุยกับเพื่อน คนในครอบครัว คนสนิทให้มากขึ้น การเล่าหรือระบายบางอย่างออกจากใจก็ช่วยได้เช่นกัน
- หาพยายามแล้วรู้สึกวิตกหรือเครียดกว่าเดิม ลองเข้ารับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ หรือกรณีรุนแรงควรได้รับยาที่ช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตต่อได้อย่างคนปกติ แต่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะเท่านั้น