โรคเนื้องอกมดลูก

โรคเนื้องอกมดลูก

15 ธันวาคม 2022 0 By admin admin

โรคเนื้องอกมดลูก

โรคเนื้องอกมดลูก โรคผู้หญิงมาจากการที่เซลล์ของกล้ามเนื้อมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติจนโตเป็นก้อนนูนออกมาบริเวณผนังมดลูก นส่วนนี้จะเรียกว่าก้อนเนื้องอกซึ่งไม่ใช่เนื้อร้ายหรือก้อนมะเร็ง ผู้ป่วยบางรายอาจจะคล้ำเจอเนื่องจากมีก้อนเนื้อที่มีขนาดใหญ่ แต่บางรายที่ก้อนเนื้อขนาดเล็กก็อาจจะทำได้ยาก โดยที่รู้กันว่า เนื้องอกที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีความร้ายแรง แต่เนื้องอกมดลูก เป็นโรคที่เกิดอันตรายได้น้อย เพียงร้อยละ 1 จากการนำไปสู่โรคมะเร็ง ผลกระทบร้ายแรงอาจนำไปสู่การมีบุตรยาก หรือกระทบต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งโรคเนื้องอกมดลูกเป็นโรคที่ผู้หญิงเป็นบ่อย และเป็นโรคที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับผู้หญิงในวัย 35 ปีขึ้นไป จนถึงวัยหมดประจำเดือน จากการวินิจฉัยของแพทย์ระบุว่าโรคเนื้องอกมดลูกยังไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร แต่มีการสันนิษฐานได้ทั้งหมด 3 อย่างด้วยกัน นั่นคือ โรค เนื้องอกมดลูก โรคฮิตในผู้หญิงที่เกิดจากพันธุกรรม หากครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคเนื้องอกก็อาจจะส่งผลเสี่ยงหรืออัตราการเกิดโรคเนื้องอกมดลูกมากกว่าคนปกติ อันดับที่ 2 ในเรื่องของฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยกลางคนหรืออายุช่วง 30 ถึง 35 ปี อาจเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดการโตของเนื้องอกได้ด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ โรค เนื้องอกมดลูก มาเกิดกับผู้หญิงวัย 35 ปีขึ้นไป และรูปแบบที่ 3 ที่อาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดเนื้องอกมดลูกได้ง่ายขึ้น มาจากการกินยาคุมกำเนิด ผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดติดต่อกันในระยะเวลาที่นานจนเกินไป มีอัตราเสี่ยงที่จะถูกกระตุ้นให้เกิดเซลล์เนื้องอกมดลูกได้

อาการของโรค เนื้องอกมดลูก โรคฮิตในผู้หญิง
1. มีประจำเดือนมามากกว่าปกติหรือประจำเดือนมามากกว่า 14 วัน ซึ่งถือว่าเป็นฮอร์โมนผิดปกติ และหากสังเกตดูลักษณะของประจําเดือนมีลิ่มเลือดปนมากกว่า 1-2 วันแรก อาจมีอัตราเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกมดลูกได้

  1. ผู้หญิงที่มักจะปัสสาวะบ่อย หรือปวดปัสสาวะบ่อย อาจจะเกิดจากก้อนเนื้องอกมดลูกที่กำลังเติบโตไปกดทับบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น และมากกว่าคนปกติที่ปัสสาวะ 4-5 ครั้งต่อวัน
  2. ผู้หญิงที่มักมีอาการท้องผูกหรือปวดท้องผิดปกติบ่อยครั้ง เนื่องจากเนื้องอกมดลูกกดทับบริเวณลำไส้ ทำให้ลำไส้เกิดการทำงานผิดปกติ
  3. มีอาการปวดบริเวณท้องคล้ายกับเป็นประจำเดือน และอุ้งเชิงกราน บางรายอาจจะคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานหากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ และสังเกตอาการอ่อนเพลียง่ายร่วมด้วย
  4. คนที่มีบุตรยากเนื่องจากเนื้องอกอาจจะไปอุดตันบริเวณท่อนำไข่ ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถฟักตัวและเติบโตได้ หรือในบางรายอาจจะเกิดการแท้งลูกบ่อย ๆ
  5. รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งในข้อนี้ต้องสังเกตว่ารู้สึกเจ็บเป็นปกติ หรือเพิ่งเริ่มมีอาการช่วงหลัง

การรักษาโรค เนื้องอกมดลูก ขึ้นอยู่กับแต่ละปัจจัย โดยแพทย์จะวินิจฉัยวิธีการรักษาควบคู่กับอาการ หากเนื้องอกมีขนาดก้อนไม่ใหญ่มาก แพทย์จะวินิจฉัยวิธีการรักษาโดยการฉีดอุดเส้นเลือดให้เนื้องอกเกิดการฝ่อตัว การรักษาวิธีการนี้เนื้องอกจะไม่สามารถได้รับเลือดในปริมาณที่เพียงพอทำให้เกิดการฝ่อลง หากเป็นเนื้องอกที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต ในกรณีนี้แพทย์จะวินิจฉัยและพิจารณาในการผ่าตัด แต่การผ่าตัดก็แบ่งออกได้อีก 2 กรณี

  1. กรณีที่ 1 เป็นการผ่าตัดโดยนำเฉพาะก้อนเนื้องอกออก วิธีการผ่าตัดในลักษณะที่ 1 สำหรับผู้ที่ต้องการที่จะมีบุตร โดยจะยังคงมดลูกไว้ในลักษณะเดิม และทำการผ่าตัดออกเฉพาะก้อนเนื้อ โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง แต่ไม่สามารถใช้วิธีการนี้กับผู้ป่วยได้ทุกราย ต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์
  2. กรณีที่ 2 เป็นการผ่าตัดเพื่อนำมดลูกออก ในกรณีนี้แพทย์จะวินิจฉัยใช้สำหรับผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง และหลังจากการผ่าตัดจะไม่สามารถมีบุตรได้